โรคลัมปี สกิน โรคในโค-กระบือ


แชร์ให้เพื่อน :

โรคลัมปีสกิน โรคในโค-กระบือ

Lumpy skin disease (LSD หรือ โรคลมปี สกิน)
1. สาเหตุและระบาดวิทยาโดยทั่วไป : เกิดจากเชื้อไวรัส Lumpy skin disease virus หรือ LSDV ซึ่งจัดอยู่ ในวงศ์ Poxviridae สกุล Capripoxirus โดย LSDV นั้นสามารถเจริญเติบโตและก่อโรคตามอวัยวะต่างที่มีเซลล์ เยื่อบุ (Epithelium cells) ซึ่งจัดเป็นโรคประจําถิ่นในประเทศแถบแอฟริกา มีระยะฟักตัวประมาณ 4-14 วันใน ห้องทดลองและอย่างน้อย 2-5 สัปดาห์ในการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจร่วมกันในเชิงการ เคลื่อนย้ายสัตว์ระหว่างประเทศองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ได้กําหนดให้ระยะฟักตัวของโรคนี้เท่ากับ 28 วัน ไวรัสชนิดนี้ก่อโรคในโค และกระบือ รวมถึงยีราฟ มีอัตราการป่วย 5 – 45% และอัตราการตายน้อยกว่า 10% โดย โรคนี้ไม่ได้จัดว่าเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน นอกจากนี้มีการศึกษาในประเทศเอธิโอเปียพบว่าสายพันธุ์ของ สัตว์จะมีความไวต่อการเป็นโรคที่แตกต่างกัน ซึ่งโคนมพบว่ามีความไวต่อโรคมากกว่าโคเนื้อสายพันธุ์ Zebu สําหรับประเทศไทยยังไม่พบรายงานการเกิดโรคนี้ โดยโรคดังกล่าวจัดเป็นโรคตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558

2. ทําไมประเทศไทยต้องเริ่มเฝ้าระวังโรคนี้อย่างจริงจัง: ปัจจุบันพบการระบาดของโรคลัมป์ สกินในหลาย ประเทศของภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (2562) สาธารณรัฐอินเดีย (2562) สาธารณรัฐ ประชาชนจีน (2562) ในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) (2563) และ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (2563) โดยล่าสุดพบการระบาดของโรคนี้ใน ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่ามีความสัมพันธ์ทางการค้าด้านปศุสัตว์กับประเทศไทยทั้ง ทางตรงและทางอ้อม โดยคงพบการระบาดของโรคนี้อย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจึงมีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับเชื้อ ผ่านทางการเคลื่อนย้ายสัตว์ตลอดจนแมลงพาหะจากประเทศกลุ่มนี้ ซึ่งส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจที่สําคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูญเสียคุณภาพซาก ตลอดจนสวัสดิภาพสัตว์

3. อาการ : สัตว์อาจจะมีไข้อุณหภูมิสูงได้ถึง 41 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ํานมลดอย่างเห็นได้ชัดในโคนม ซึม เบื่ออาหาร ซูบผอม เยื่อจมูกอักเสบ เยื่อตาขาวอักเสบ มีปริมาณน้ําลายมากกว่าปกติ ต่อมน้ําเหลืองบวมโต เกิดตุ่ม บริเวณผิวหนังขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-5 ซม. บริเวณหัว คอ ขา เต้านม อวัยวะเพศ ภายใน 48 ชม. หลังจากแสดงอาการป่วย โดยทุ่มมีลักษณะแข็ง กลม นูนขึ้นจากผิวหนังโดยรอบ ซึ่งตุ่มนูนที่มีขนาดใหญ่อาจจะ กลายเป็นเนื้อตาย มีแผลเป็นเกิดขึ้นและคงอยู่เป็นเวลาหลายเดือน ส่วนตุ่มนูนขนาดเล็กสามารถหายได้เร็วกว่า สามารถพบตุ่มน้ํา หรือแผลจากการแตกของตุ่มน้ําได้ในบริเวณเยื่อเมือกในช่องปาก ทางเดินอาหาร หลอดลม และ ปอดได้ อาจพบการบวมน้ําในบริเวณส่วนท้องของตัวสัตว์ซึ่งจะส่งผลให้สัตว์ไม่อยากเคลื่อนไหว ในพ่อพันธุ์อาจจะ ส่งผลให้เกิดการเป็นหมันชั่วคราว หรือถาวรได้ สําหรับแม่พันธุ์อาจจะส่งผลให้แท้งและเกิดการกลับสัดช้า

สําหรับโรคนี้รอยโรคที่ผิวหนังถือเป็นปัจจัยสําคัญที่จะช่วยประกอบการสอบสวนโรค โดยลักษณะรอยโรค สามารถช่วยประเมินระยะเวลาการได้รับเชื้อเบื้องต้นสําหรับประกอบการสอบย้อนกลับเพื่อค้นหาแหล่งที่มาของ โรคต่อไป ดังนี้

ประมาณ 7 วันภายหลังการติดเชื้อ พบว่าผิวหนังเริ่มมีตุ่ม (Nodule) ขึ้นแต่รอย โรคค่อนข้างตื้นและแยกจากสาเหตุอื่นๆ ได้ยาก

 

ประมาณ 11 วันภายหลังการติดเชื้อ พบว่าเริ่มมีตุ่มนูนเพิ่มจำนวนและขยายขนาด เพิ่มมากขึ้น แต่ผิวหนังด้านบนยังไม่มีการหลุดออก

 

ประมาณ 14 วันภายหลังการติดเชื้อ พบว่าขอบเขตรอยโรคชัดเจน เริ่มมีสะเก็ด ก่อตัวขึ้นบนรอยโรค ในช่วงนี้รอยโรคอาจ ยังเห็นไม่ชัดเจนถ้าไม่โกนขนออก

ประมาณ 19 วัน ภายหลังการติดเชื้อ พบว่าสะเก็ดก่อตัวขึ้น บนรอยโรคอย่างชัดเจน

 

ประมาณ 21-26 วันภายหลังการติดเชื้อ พบว่าสะเก็ดเริ่มมีการลอกหลุด เกิดเป็นแผลหลุมตามมา

 

ประมาณ 27 วันขึ้นไปภายหลังการติดเชื้อ พบว่าแผลหลุมที่เกิดขึ้นเริ่มแห้ง และบางส่วนอาจ เกิดเป็นแผลเป็น ซึ่งเมื่อพบว่าสัตว์มีแผลเป็นแล้วอาจจะประมาณการณ์ได้ว่าสัตว์ได้รับการติด เชื้อมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 เดือน

*** ดัดแปลงจาก online lumpy skin disease preparedness course (FAO และ EuFMD, 2020)


ตัวอย่างรอยโรคอื่นๆ ที่อาจพบได้ดัดแปลงจาก online lumpy skin disease preparedness course (FAO และ EuFMD, 2020):

รอยโรคบริเวณเยื่อเมือกบริเวณดวงตา โดยอาจพบขี้ตาและน้ำตาร่วมด้วย

 

รอยโรคบริเวณเยื่อเมือกบริเวณจมูกและปาก ร่วมกับการมีน้ำมูกและน้ำตาไหล

 

ภาพตัดขวางผิวหนังบริเวณรอยโรค ซึ่งพบว่ามีความลึกตลอดโดยตลอดชั้นหนังแท้

 

รอยโรคบนผิวหนังในกระบือ โดยปัจจุบันยังไม่รายงานการเกิดโรคนี้ในสัตว์ป่าที่มีถิ่นที่อยู่ในทวีปเอเชีย


Post-mortem lesion: ลักษณะรอบโรคของซากสัตว์ที่เกิดจากโรคนี้พบว่า จะพบตุ่มนูนและแผลหลุมกระจายทั่วไปตามผิวหนังซึ่ง อาจลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ และพบแผลหลุมตามเยื่อเมือกบริเวณทางเดินอาหาร (โดยเฉพาะ Abomasum) และ ทางเดินหายใจ โดยพื้นผิวบริเวณโรครอบรอบโรคมักพบว่าบวมน้ำและมีเลือดออก และในบางกรณีสามารถพบรอย โรคดังกล่าวได้ที่เต้านม ปอด กระเพาะปัสสาวะ ไต มดลูก และอัณฑะ ตลอดจนการอักเสบของข้อต่อ (synovitis) และเส้นเอ็นต่างๆ (tendosynovitis) (Spickler, 2008)

(a) ลักษณะรอยโรคตุ่มนูนและแผลหลุมบริเวณถุงน้ำดี

 

(b) รอยโรคแผลหลุ่มบริเวณเยื่อเมือกของหลอดลม ที่มา Tuppurainen et al. (2017)

 

4. การติดต่อ:

•ช่องทางหลักของการติดเชื้อคือการมีแมลงดูดเลือดเป็นพาหะนำโรค ได้แก่ เห็บ แมลงวันดูดเลือด ยุง เป็นต้น ซึ่งแมลงพาหะเหล่านี้มีบทบาทเป็นลักษณะพาหะเชิงกล (Mechanical Vector) โดยการถ่ายทอด เชื้อที่ติดอยู่ที่ส่วนปากให้กับโคกระบือในบริเวณเดียวกัน โดยจากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าเชื้อไวรัส สามารถมีความคงทนในแมลงบางชนิดได้นานโดยไม่มีการแบ่งตัวเพิ่ม ดังนี้

o ยุง เช่น Aedes Aegypti เป็นต้น ประมาณอย่างน้อย 6 – 8 วัน (Chihota et al., 2001, SanzBernardo et al., 2020 และ Carn & Kitching, 1995)

o Culex quinquefasciatus (ยุงรำคาญ), Culicoides nubeculosus (ริ้น) ประมาณ 8 วัน (Sanz-Bernardo et al., 2020) o Stomoxys calcitrans (แมลงวันคอก) ประมาณ 6 ชั่วโมง (Issimov et al., 2020) นอกจากนี้ ยังสามารถพบเชื้อไวรัสในกรณีที่แมลงสำรอกหรืออุจจาระออกมาได้ประมาณ 3 วันภายหลัง แมลงได้รับเชื้อ (Paslaru et al., 2021)

o เห็บแข็ง (Ixodid ticks) Rhipicephalus appendiculatus และ Amblyomma hebraeum สามารถพบ DNA ของไวรัสประมาณ 9 – 14 หลังจากได้รับเชื้อ แต่ยังไม่พบหลักฐานว่าสามารถ แยกเชื้อเป็นได้จากเห็บแข็งเหล่านี้(Tuppurainen et al., 2011)

•สามารถพบไวรัสในน้ำเชื้อของพ่อพันธุ์ได้แต่การติดต่อผ่านทางน้ำเชื้อก็ยังไม่มีรายงานของการเกิดโรค

•ยังไม่สามารถบอกได้ว่าการติดโรคผ่านทางอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ หรืออาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อน น้ำลายของสัตว์ป่วยเกิดขึ้นได้หรือไม่

•สัตว์สามารถติดเชื้อจากการทดลองโดยใช้สิ่งคัดหลั่งจากตุ่มที่เกิดขึ้นที่ผิวหนัง หรือจากเลือดได้

•การติดต่อผ่านการสัมผัสสัตว์ป่วยโดยตรงนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แต่ไม่ใช่ช่องทางการติดต่อหลัก

5. การแพร่กระจายของเชื้อไวรัส:

•ตุ่มที่บริเวณผิวหนังที่เกิดขึ้นจากสัตว์เป็นโรค สะเก็ดแผล สะเก็ดผิวหนัง ซึ่งจะมีปริมาณเชื้อไวรัส LSDV ในปริมาณที่ค่อนข้างมาก สามารถพบเชื้อไวรัสจากส่วนนี้ได้ถึง 38 วันหลังการติดเชื้อและอาจจะพบได้ ยาวนานกว่านี้

•สามารถพบเชื้อไวรัสได้ในเลือด น้ำลาย สิ่งคัดหลั่งจากตาและจมูก และน้ำเชื้อ

•สำหรับเชื้อไวรัสในน้ำมูกและน้ำลายนั้น พบว่ามีปริมาณค่อนข้างน้อย โดยสามารถพบเชื้อได้ในระยะเวลา ระหว่าง 12 – 18 วันภายหลังการติดเชื้อ ซึ่งจากการทดลองพบว่าการติดเชื้อจากน้ำมูกและน้ำลาย สามารถก่อโรคได้แบบไม่รุนแรง (Babiuk et al., 2008)

•พบเชื้อไวรัสในเลือดสัตว์ที่ติดเชื้อได้ในบางช่วง โดยเฉลี่ยจะพบได้ประมาณ 7-21 วันหลังติดเชื้อ แต่ อย่างไรก็ตามจะพบเชื้อไวรัสได้ในปริมาณที่น้อยกว่าจากตุ่มที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง •พ่อพันธุ์สามารถขับเชื้อไวรัสผ่านทางน้ำเชื้อได้เป็นระยะเวลานาน สัตว์สามารถขับไวรัสในน้ำเชื้อประมาณ 42 วันหลังจากติดเชื้อ โดยมีการศึกษาพบว่าวัคซีนชนิด Homologous vaccine สามารถช่วยป้องกันการ ขับเชื้อผ่านทางน้ำเชื้อได้(Annandale et al., 2013)

•มีรายงานการเกิดโรคพบการติดต่อผ่านทางรก โดยหากพบการติดเชื้อในแม่ช่วงปลายของการตั้งท้อง (ประมาณ 7 เดือน) จะทำให้เกิดภาวะ Viremia ในแม่สัตว์จนมีโอกาสทำให้ลูกสัตว์ที่เกิดมามีรอยโรคลัมปี สกินตามวัยวะต่างๆ และมีความอ่อนแอ จนอาจตายในที่สุด (Rouby et al., 2016)

•สัตว์ที่หายจากโรคแล้วไม่พบว่าเป็น Carrier ได้ แต่สัตว์ที่ไม่แสดงอาการ (ประมาณ 50% ของสัตว์ที่ติด เชื้อ) ยังสามารถแพร่เชื้อได้เช่นเดียวกับสัตว์ที่แสดงอาการป่วย


6. ความคงทนของไวรัสในตัวอย่างชนิดต่างๆ (Babik, 2008, Dietze et al., 2018, Irons et al., 2005, Tuppurainen et al., 2005 และ Weis, 1968):


7. การฆ่าเชื้อไวรัส (OIE, 2017):


8. การวินิจฉัยแยกแยะที่สำคัญ (FAO, 2017):

หมายเหตุการตรวจเพื่อวินิจฉัยแยกแยะส่วนใหญ่ใช้วิธีเก็บตัวอย่างตรวจ PCR


9. แนวทางการเก็บตัวอย่างและวินิจฉัยโรค:


10. ผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ไม่พบเชื้อไวรัส (OIE, 2018)

1. กล้ามเนื้อลาย (Skeletal muscle meats)

2. ปลอกสำไส้ (casing)

3. gelatine และ collagen;

4. ไขมันแข็ง (Tallow)

5. กีบ (hooves) และ เขา (horns)


11. ลักษณะภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น (ดัดแปลงจาก online lumpy skin disease preparedness course (FAO และ EuFMD, 2020)) •ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อสามารถตรวจพบได้เมื่อติดเชื้อไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ โดยภูมิคุ้มกันจะ มีระดับสูงสุดในช่วงระย้เวลาระหว่าง 3 – 4 สัปดห์ภายหลังการติดเชื้อ ซึ่งถึงแม้แอนติบอดี้จะสามารถ จำกัดการแพร่กระจายของเชื้อภายนอกเซลล์ได้ แต่เชื้อโดยส่วนใหญ่มักมีชีวิตอยู่ในเชลล์เป็นหลักแอนติ บอดี้ดังกล่าวจึงไม่สามารถหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อภายในเซลล์ได้ ดังนั้นภูมิคุ้มกันแบบ Cellmediated immunity จึงมีความสำคัญต่อการควบคุมการติดเชื้อร่างกายสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ •เมื่อสัตว์ได้รับวัคซีนหรือหายจากโรคแล้วอาจตรวจไม่พบภูมิคุ้มแต่มีความสามารถในการป้องกันโรคได้ ดังนั้นในกรณีของโรคลัมปี สกินระดับภูมิคุ้มกันไม่สามารถเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการป้องกันโรคได้

ซึ่งกรณีการติดเชื้อโดยธรรมชาตินั้นยังคงเชื่อกันว่าสัตว์จะมีภูมิคุ้มกันต่อไปได้ตลอดชีวิตแต่ทั้งนี้อาจต้องมี การศึกษาเพิ่มเติมต่อไป •Maternal immunity มีรายงานว่าจะลดลงหลังจากลูกสัตว์ได้รับน้ำนมเหลืองประมาณ 3 เดือนเป็นต้นไป (Agianniotaki et al., 2018)


12. การป้องกันโรค และควบคุมโรค •การใช้วัคซีนเชื้อเป็นสำหรับป้องกันโรคซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการใช้ในประเทศไทย โดยอยู่ในระหว่างการหารือ แนวทางและความเป็นไปได้ในการสำรองวัคซีนกรณีฉุกเฉินเพื่อควบคุมโรคต่อไป •ประเทศที่ปลอดโรค ควรมีการเฝ้าระวังเชิงรุก ร่วมกับการเข้มงวดในการนำเข้าโคและกระบือ รวมทั้งซาก และผลิตภัณฑ์จากพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของโรค •การดำเนินการควบคุมควรดำเนินงานควบคู่กันระหว่างการควบคุมแมลงพาหะ การเคลื่อนย้ายสัตว์ การ คัดทิ้ง และการฉีดวัคซีนเพื่อการควบคุมโรค หากดำเนินการเพียงการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์และการ คัดทิ้งสัตว์ป่วย เมื่อเปรียบเทียบแล้วพบว่าหากไม่มีการฉีดวัคซีนร่วมด้วย ประสิทธิภาพการควบคุมโรค อาจไม่มากเพียงพอเมื่อสังเกตจากการควบคุมโรคในประเทศต่างๆ ที่เคยมีการระบาด (EFSA, 2016)


เอกสารอ้างอิง

Agianniotaki EI, Babiuk S, Katsoulos PD, Chaintoutis SC, Praxitelous A, Quizon K, Boscos C, Polizopoulou ZS, Chondrokouki ED, Dovas CI. Colostrum transfer of neutralizing antibodies against lumpy skin disease virus from vaccinated cows to their calves. Transboundary and emerging diseases. 2018 Dec;65(6):2043-8.

Annandale CH, Holm DE, Ebersohn K, Venter EH. Seminal transmission of lumpy skin disease virus in heifers. Transboundary and emerging diseases. 2014 Oct;61(5):443-8.

Babiuk S, Bowden TR, Parkyn G, Dalman B, Manning L, Neufeld J, Embury-Hyatt C, Copps J, Boyle DB. Quantification of lumpy skin disease virus following experimental infection in cattle. Transbound Emerg Dis. 2008;55(7):299-307.

Carn, V.M. & Kitching, R.P. (1995) An investigation of possible routes of transmission of lumpy skin disease virus (Neethling). Epidemiology and Infection, 114, 219–226.

Chihota CM, Rennie LF, Kitching RP, Mellor PS. Mechanical transmission of lumpy skin disease virus by Aedes aegypti (Diptera: Culicidae). Epidemiology & Infection. 2001 Apr;126(2):317-21.

Milovanović, M., Dietze, K., Milićević, V., Radojičić, S., Valčić, M., Moritz, T. and Hoffmann, B., 2019. Humoral immune response to repeated lumpy skin disease virus vaccination and performance of serological tests. BMC veterinary research, 15(1), p.80.

Irons PC, Tuppurainen ES, Venter EH. Excretion of lumpy skin disease virus in bull semen. Theriogenology. 2005;63:1290-7.

Issimov A, Kutumbetov L, Orynbayev MB, Khairullin B, Myrzakhmetova B, Sultankulova K, White PJ. Mechanical Transmission of Lumpy Skin Disease Virus by Stomoxys Spp (Stomoxys Calsitrans, Stomoxys Sitiens, Stomoxys Indica), Diptera: Muscidae. Animals. 2020 Mar;10(3):477.

Paslaru AI, Verhulst NO, Maurer LM, Brendle A, Pauli N, Vögtlin A, Renzullo S, Ruedin Y, Hoffmann B, Torgerson PR, Mathis A. Potential mechanical transmission of Lumpy skin disease virus (LSDV) by the stable fly (Stomoxys calcitrans) through regurgitation and defecation. Current Research in Insect Science. 2021 Jan 1;1:100007.

Rouby S, Aboulsoud E. Evidence of intrauterine transmission of lumpy skin disease virus. The Veterinary Journal. 2016 Mar 1;209:193-5.

Sanz-Bernardo B, Haga IR, Wijesiriwardana N, Basu S, Larner W, Diaz AV, Langlands Z, Denison E, Stoner J, White M, Sanders C. Quantifying the acquisition and retention of lumpy skin disease virus by haematophagus insects and the implications for transmission and control. bioRxiv. 2020 Jan 1.

Spickler, Anna Rovid. 2 0 0 8 . Lumpy Skin Disease.

Retrieved from http://www.cfsph.iastate.edu/DiseaseInfo/factsheets.php. Accessed 11 August 2020.

Tuppurainen, E., Alexandrov, T. & Beltrán-Alcrudo, D. 2017. Lumpy skin disease field manual–A manual for veterinarians. FAO Animal Production and Health Manual No. 20. Rome. Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). 60 pages.

Tuppurainen, E.S., Stoltsz, W.H., Troskie, M., Wallace, D.B., Oura, C.A.L., Mellor, P.S., Coetzer, J.A. and Venter, E.H., 2011. A potential role for ixodid (hard) tick vectors in the transmission of lumpy skin disease virus in cattle. Transboundary and emerging diseases, 58(2), pp.93-104.

E.S.M. Tuppurainen, E.H. Venter, J.A.W. Coetzer. The detection of lumpy skin disease virus in samples of experimentally infected cattle using different diagnostic techniques. Onderstepoort J. Vet. Res., 72 (2005), pp. 153-164.

K.E. Weiss. Lumpy skin disease virus. Virol. Monogr., 3 (1968), pp. 111-131.

World Organization for Animal Health [OIE]. Technical disease cards [online]. Paris: OIE; 2017. Lumpy skin disease. https://www.oie.int/fileadmin/Home/eng/Animal_Health_in_the_World/docs/pdf/Disease_c ards/LUMPY_SKIN_DISEASE_FINAL.pdf. Accessed 11 August 2020.

World Organization for Animal Health [OIE]. Terrestrial Animal Health Code [online]. Paris: OIE; 2018. Chapter 11.9. Infection with lumpy skin disease virus. https://www.oie.int/index.php?id=169&L=0&htmfile=chapitre_lsd.htm. Accessed 11 August 2020.

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มควบคุมป้องกันโรคปศุสัตว์ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์

แชร์ให้เพื่อน :