การผลิตและใช้ปลาป่นในไทย


แชร์ให้เพื่อน :

การผลิตและใช้ปลาป่นในไทย

สวัสดีครับ ปลาป่นถือว่าเป็น วัตถุดิบอาหารสัตว์ที่จำเป็น สำหรับสูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับสัตว์

ปลาป่น’ เป็นอุตสาหกรรมสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่งในระบบเศรษฐกิจไทย ตัวเลขของสำนักมาตรฐานสินค้านำเข้าส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ในปี 2555 ประเทศส่งออกปลาป่น ชั้น 1, ชั้น 2 และชั้น 3 รวมกันเป็นปริมาณ 58,365.61 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2,032.62 ล้านบาท นอกจากนี้ ปลาป่นยังถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และต่อเนื่องไปสู่อุตสาหกรรมฟาร์มปศุสัตว์ ตัวเลขประมาณการประชากรสัตว์ (หมายถึงสัตว์เลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อ) ปริมาณอาหารสัตว์ และการใช้วัตถุดิบ ปี 2556 ของสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย พบว่า ในอุตสาหกรรมสัตว์จะมีประชากรสัตว์ เช่น ไก่เนื้อ ไก่ไข่ หมูขุน เป็ดเนื้อ เป็นต้น

การใช้ปลาป่นในโลก

การใช้ปลาป่นของโลกในช่วง 5 ปี (2549-2553) ที่ผ่านมา มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 0.36 ต่อปี โดยปี2553 การใช้ปลาป่นของโลกมีปริมาณ 5.35ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 4.86 ล้านตัน ของปีที่ผ่านมาร้อยละ 10.08 เนื่องจากความต้องการสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะการจับสัตว์น้ำจากธรรมชาติมีปริมาณน้อยลงทำให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งปลาป่นเป็นวัตถุดิบหลักในส่วนผสมอาหารสัตว์น้ำ ประเทศที่มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมากที่สุดในโลกคือ จีน ดังนั้นจีนจึงเป็น

ผู้ใช้ปลาป่นรายใหญ่ของโลก โดยมีการนำเข้าปลาป่นมากกว่า ร้อยละ 50 ของปริมาณปลาป่นที่ส่งออกของโลก รองลงมาคือ เยอรมนี ญี่ปุ่นและไต้หวัน

การใช้ปลาป่นในไทย

การใช้ปลาป่นในประเทศที่ผ่านมา จะมีปริมาณใกล้เคียงกับความสามารถในการผลิตของประเทศ คือระหว่าง 0.40-0.47ล้านตัน โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2549-2553)มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.87 ต่อปี ส่วนใหญ่ใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์น้ำ โดยเฉพาะในอาหารสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง และปลาต่างๆ ส่วนของปศุสัตว์มีบ้างแต่ไม่มากนัก

ปลาป่น

ธุรกิจปลาป่นของไทย

ธุรกิจปลาป่นในประเทศไทยเกิดขึ้นมากว่า 30 กว่าปีแล้ว เริ่มตั้งแต่สมัยยังใช้กระทะใบบัวในการผลิต จนปัจจุบันโรงงานหลายแห่งได้พัฒนาไปสู่ระบบการผลิตที่ทันสมัย ได้รับมาตรฐาน GMP และ HACCP ในยุคที่มีวัตถุดิบมาก ประเทศไทยเคยผลิตปลาป่นได้ถึงห้าแสนตัน แต่ปัจจุบันลดลงเหลือเพียงประมาณสองแสนกว่าตัน วัตถุดิบที่ใช้ผลิตปลาป่นแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ 1.เศษซากปลาจากโรงงานแปรรูปปลา (ซูริมิ ปลากระป๋อง ลูกชิ้นปลา) หรือที่เรียกว่า “ปลาโรงงาน” และ 2. ปลาเป็ดปลาไก่ หรือเรียกอีกอย่างว่า “ปลาเรือ” ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทยระบุว่า ในปีพ.ศ. 2560 สัดส่วนวัตถุดิบระหว่างปลาโรงงานและปลาเรืออยู่ที่ 68% และ 32% ตามลำดับ ใกล้เคียงกับตัวเลขของกรมประมงที่ตรวจเอกสารแสดงที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ผลิตปลาป่นพบว่า เป็นเศษซากปลาจากแหล่งต่าง ๆ 56% ปลาเป็ด 35% และปลาเป็ดนำเข้าอีก 9% ซึ่งสัดส่วนของวัตถุดิบประเภทปลาเรือหรือปลาเป็ดจับจากในประเทศที่น้อยลงนี่เอง ที่ทำให้โรงงานปลาป่นเกิดปัญหา

แต่โรงงานปลาป่นยังเป็นโรงงานกำจัดขยะจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากประมงอีกด้วย โดยการแปรรูปทั้งหัว หาง ก้าง ไส้ ที่ไม่เป็นที่ต้องการของโรงงานปลากระป๋อง โรงงานผลิตซูริมิ โรงงานผลิตลูกชิ้นปลา โรงแล่ปลาน้ำจืด ให้กลายเป็นปลาป่นที่นำไปสร้างมูลค่าต่อได้ โรงงานปลาป่นในไทยบางโรงจึงไม่ได้จดทะเบียนเป็นโรงงานปลาป่นด้วยซ้ำ แต่จดเป็นโรงกำจัดขยะของโรงงานแม่แทน หรือแม้แต่วัตถุดิบปลาเรือเอง ก็ไม่ได้มีแต่ปลาเป็ดและลูกปลาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังมีปลาคนกินที่โตเต็มวัยแต่อยู่ในสภาพที่คนบริโภคไม่ได้แล้ว เช่น ปลาท้องแตกหรือปลาที่เริ่มเน่าแล้วรวมอยู่ด้วย ดังนั้นการมีโรงงานปลาป่นจึงจำเป็นเพื่อเป็นการกำจัดขยะปลา นั่นเอง

 

โรงงานปลาป่นยังจำเป็น

การมีโรงงานปลาป่นจึงเป็นสิ่งจำเป็น เป็นทางเลือกที่เหมาะสม และสมเหตุสมผลในการกำจัดขยะเศษเหลือจากโรงงานแปรรูปปลาเหล่านี้ จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะปิดโรงงานปลาป่นเลย นอกจากนี้หากเราเอาขยะเหล่านี้ไปเผาหรือฝังกลบ ซึ่งนอกจากจะสร้างปัญหาด้านการจัดการและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเหมือนเราเอาเงินเกือบหกพันล้านบาท[2] ไปเผาหรือฝังกลบด้วย ซึ่งเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลและไม่จำเป็น ไม่นับความสูญเสียจากการเลิกจ้างงานในโรงงานปลาป่นเหล่านี้

ปลาเป็ด คือชนิดปลาที่ถูกจับขึ้นมาเพื่อทำปลาป่นแต่เดิม เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก เหมาะกับให้เป็ดกินนั่นเอง

ปลาเป็ด คือ ปลาที่ชาวประมงจับมา แต่ขายให้คนกินไม่ได้ กองรวมๆกันไว้ ขายให้คนเลี้ยงเป็ดกินในราคาถูกๆ เป็ดชอบกินปลาตัวเล็กๆ เป็นตัวๆ เลยเรียกว่า ปลาเป็ด(กิน)

ปลาเป็ด

รูปจาก http://oknation.nationtv.tv/blog/R009/2017/01/20/entry-2

หากเรามองว่า ปลาเป็ดที่จับมาโดยเรืออวนลากยังคงเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไข อันเนื่องมาจากวิธีการจับหรือเครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ทำให้มีลูกปลาเศรษฐกิจติดขึ้นมาในสัดส่วนสูงเกินไป เราก็ควรไปแก้ปัญหาให้ตรงจุดที่ต้นเหตุ คือที่เรือประมง ซึ่งที่ผ่านมากรมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้พยายามแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมประมงกันอย่างจริงจัง ตั้งแต่การออก พรก.ประมงใหม่ในปีพ.ศ. 2559 เพื่อแทน พรบ.ประมงเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2490 ทั้งเรื่องการขยายขนาดตาอวนเป็น 4 เซนติเมตร การให้เรือประมงขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไปต้องติดเครื่องมือติดตามเรือประมง การกำหนดให้มีการจัดทำข้อมูลการจับสัตว์น้ำเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ หรือการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จนทำให้เรืออวนลากเถื่อนหายไปกว่าหมื่นลำ

ถ้าหากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมองว่า แม้เรือประมงจะปฏิบัติตามกฎกติกาเหล่านี้แล้ว แต่ก็ยังเป็นการตักตวงและทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากเกินกว่าที่ธรรมชาติจะมีศักยภาพในการฟื้นฟูตัวเองได้ ก็ควรเสนอให้มีการหารือกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ถึงแนวปฏิบัติที่คิดว่าเหมาะสมในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันของฝ่ายต่าง ๆ มากกว่าที่จะแก้ปัญหากันที่ปลายเหตุ ด้วยการปิดโรงงานปลาป่นในไทย เพราะเราจะต้องนำเข้าปลาป่นเพื่อเลี้ยงสัตว์นั่นเอง

แชร์ให้เพื่อน :