การเลือกซื้อปลาป่น


แชร์ให้เพื่อน :

การเลือกซื้อปลาป่น

ปลาป่นถือว่าเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์ เพราะเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญและมีประโยชน์สำหรับสัตว์เลี้ยงเช่น ปลา ไก่ หมู เป็นต้น วันนี้เรามาดูวิธีการเลือกซื้อ ปลาป่นกันดีกว่า 

ลักษณะของปลาป่นที่ดี

– ปลาป่นที่ดีจะมีสีน้ำตาลเหลือง สีน้ำตาลเข้ม สีเทา หรือสีที่เป็นไปตามธรรมชาติของวัตถุดิบที่ผลิต เพราะเนื้อปลาชนิดต่างๆ เมื่อผลิตปลาป่นแล้ว จะมีสีที่ต่างๆกันออกไป
– สะอาด ไม่เน่า ไม่มีหนอนและแมลงทุกชนิดเจือปน
– ไม่มีสิ่งปลอมปน ทั้งทางกายภาพและเคมี สามารถตรวจเช็คได้โดยตรวจในแลบ
– เนื้อปลาป่นต้องมีความละเอียดเท่าๆกัน ไม่พบกระดูกปลาชิ้นใหญ่ เพื่อความสะดวกในการนำไปใชั และช่วยให้สัตว์ย่อยได้ง่าย ทำให้สามารถนำสารอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
– ปลาป่นต้องมีระดับความแห้ง (ความชื้นไม่เกิน 10%)
– มี NaCl ได้ประมาณ 3% แต่ไม่เกิน 7%
– มีน้ำมันปนอยู่น้อย เพราะถ้ามากจะทำให้หืนเร็ว ทำให้เนื้อมีกลิ่น และเสียหายได้
– ปราศจากเชื้อ Salmonello spp. เพราะถ้าหากสัตว์ได้รับเชื้อนี้จะทำให้ท้องเสียรุนแรงและตายได้

– เนื้อมีกลิ่น
– แหล่งของ Lysine, Vit B

ปลาป่น

ปลาป่น

ลักษณะทางกายภาพของปลาป่น
สี (color) สีของปลาป่นจะออกสีน้ำตาลออกเหลือง น้ำตาลเข้มจะเป็นปลาป่นที่ได้จากปลาสด

แต่ถ้าสีออกเทาหรือเทาเข้มจะเป็นปลาไม่สด
แต่สีที่แตกต่างกันมาก อาจจะขึ้นอยู่กับชนิด ความสดของปลา

กลิ่น ( odour)
หากเป็นปลาสดกลิ่นของปลาป่นจะมีกลิ่นหอมเหมือนปลาแห้งป่น
แต่หากเป็นปลาที่ไม่สดกลิ่นจะเหม็นออกเค็ม

ลักษณะเนื้อ ( texture)
ปลาสด :พบเส้นกล้ามเนื้อปลา และมีลักษณะฟู

ปลาไม่สด: เนื้อค่อนข้างละเอียด เส้นกล้ามเนื้อปลามีน้อย เนื้อปลาถูกย่อยสลาย

ลักษณะและคุณสมบัติมาตรฐานของปลาป่น
การสังเกตุสิ่งปลอมปนในปลาป่น สำหรับการปลอมปนในปลาป่นด้วยวัตถุดิบต่างๆที่อาจพบได้ คือ

1.ทรายละเอียด
เป็นเม็ดเล็กละเอียดสีคล้ายปลาป่นมากถ้าดูด้วยตาเปล่า แต่ดูจากกล้องจะเห็นบางเม็ดใส สะท้อนแสง สีน้ำตาลหรือสีดำก็มี

2.เปลือกหอยบดหรือเปลือกหอยเก่ฟา(กาซ้า)
เป็นแผ่นขาวขุ่นทึบและมักหนากว่าชิ้นส่วนของกระดูกปลา อาจมีลวดลายบนชิ้นด้วย มักพบในส่วนหยาบ

3. เปลือกปู
เป็นชิ้นขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง ด้านหนึ่งมีสีขุ่นทึบ อีกด้านหนึ่งมักมีจุดสีส้มกระจายอยู่ทั่วไป มักพบในส่วนหยาบมากกว่าส่วนละเอียด

ปลาที่นำไปทำปลาป่น

รูปจาก http://www.salforest.com/blog/why_thailand_needs_fishmeal_producers

ปลาที่นำไปทำปลาป่น

รูปจาก http://www.salforest.com/blog/why_thailand_needs_fishmeal_producers

 

ข้อมูลที่ควรจะรู้เมื่อซื้อปลาป่น
– ชนิด และขนาดของปลา
– ความสด สารกันเน่าเสีย
– Antioxidants
– อุณหภูมิที่ใช้ drying

ความผันแปรของคุณค่าทางอาหาร
– ชนิดและขนาดปลา

: ปลาตัวใหญ่จะมีเนื้อปลามากกว่า
: ปลาทะเลลึกโปรตีนสูง
– กรรมวิธีในการผลิต
: ปลาเน่า ความร้อนสูง( > 60oc) Lys จะถูกทำลาย
– เถ้าและไขมันในปลา
: เถ้าสูง โปรตีนต่ำ
:ใขมันสูง หืน กลิ่นเหม็น
– การปลอมปน
ทรายละเอียด เปลือกหอย หินฝุ่น ขนไก่ป่น

ข้อจำกัดในการใช้ปลาป่น
– ปลาดิบมี anti-thiamine ทำให้สัตว์ใช้ B1 ไม่ได้
– ถ้าใช้มากเกินไปจะขาด folic acid
– ปลาเน่าจะมี Salmonella
– กลิ่นเน่าจะมี biogenic amine (histamin) ทำให้ท้องร่วง

การใช้ในสูตรอาหารสัตว์
ลูกสุกรที่ให้ creep feed 10%
สุกรหย่านม 5%
สุกรขุน 7%
พ่อ-แม่พันธุ์ 7%
ไก่เล็ก 8%
ไก่โต 5%

สัตว์กระเพาะรวม
ลูกสัตว์ที่ต้องการโปรตีน และกรดแอมิโนที่จำเป็นสูง สารกระตุ้นการเจริญเติบโต
สัตว์โตใช้ < 5 %

ดังนั้นในการซื้อขายปลาป่น จึงมีการแบ่งเกรด ตามเปอร์เซนต์โปรตีนในปลาป่น โดยปลาป่นชั้นคุณภาพที่ 1 จะมีโปรตีนไม่น้อยกว่า 60 ปลาป่น ชั้นคุณภาพที่ 2 มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 55% และปลาป่นชั้นคุณภาพที่ 3 มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 50%

สิ่งปลอมปนในปลาป่นด้วยวัตถุดิบต่างๆที่อาจพบได้ คือ

1. ทรายละเอียด เป็นเม็ดเล็กละเอียดสีคล้ายปลาป่นมากถ้าดูด้วยตาเปล่า แต่ดูจากกล้องจะเห็นบางเม็ดใส สะท้อนแสง สีน้ำตาลหรือสีดำก็มี

2. เปลือกหอยบดหรือเปลือกหอยเก่า ( กาซ้า ) เป็นแผ่นขาวขุ่นทึบและมักหนากว่าชิ้นส่วนของกระดูกปลา อาจมีลวดลายบนชิ้นด้วย มักพบในส่วนหยาบ

3. เปลือกปูเป็นชิ้นขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง ด้านหนึ่งมีสีขุ่นทึบ อีกด้านหนึ่งมักมีจุดสีส้มกระจายอยู่ทั่วไป มักพบในส่วนหยาบมากกว่าส่วนละเอียด

4. โปรตีนถั่วเขียวหรือโปรตีนจากกากวุ้นเส้น ลักษณะเป็นก้อนผิวขรุขระ ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง จึงพบได้ทั้งในส่วนหยาบและละเอียด สีและความแข็งอ่อนขึ้นอยู่กับขบวนการผลิตของแต่ละโรงงาน

5. กากน้ำมันหมู เป็นกากที่ได้จากการอัดน้ำมันหมูออกจากเครื่องอัดมีลักษณะเป็นแผ่น แต่เมื่อจะนำมาใช้ก็จะนำมาบดละเอียด ดูจากภายนอกเห็นเป็นสีเนื้อ – น้ำตาลเหมือนปลาป่นกลิ่นเหม็นหืน แต่ดูจากกล้องจะเห็นเป็นก้อนรูปร่าง ลักษณะเนื้อไม่แน่นอนคล้ายกับกากถั่วเหลืองอัดน้ำมัน แต่เมื่อใช้คีมคีบแยกอกแล้วหยดน้ำแช่ไว้สักครู่จะพองตัว มีลักษณะคล้ายฟองน้ำที่อุ้มน้ำไว้

6. เนื้อป่นหรือเนื้อและกระดูกป่น เป็นวัตถุดิบที่ดูด้วยตาเปล่าคล้ายกับปลาป่นมาก แต่เมื่อนำมาร่อนด้วยตะแกรงเพื่อแยกส่วนหยาบกับส่วนละเอียด แล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบว่าในส่วนหยาบมีกระดูกเป็นก้อนสีขาวขุ่น มีเศษเนื้อละเอียดติดอยู่บ้าง มีขนทั้งที่เป็นเส้นใสขาวบิดไปมาและมีเส้นดำหนาเป็นแท่งยาว ส่วนละเอียดเป็นเนื้อลักษณะป่นไม่เป็นเส้นเหมือนเส้นกล้ามเนื้อปลา เนื้อป่นจะมีลักษณะชุ่มอม น้ำมัน เมื่อดมเนื้อป่นมักได้กลิ่นหืนของไขมันเป็นกลิ่นเฉพาะตัว

7. เศษหนังสัตว์ มักเป็นผงละเอียดหรือก้อนเล็กๆรูปร่างไม่แน่นอน มีชิ้นส่วนซึ่งเป็นเงาและสะท้อนแสงกระจายอยู่ทั่วไป ลักษณะที่เห็นภายนอกและสีคล้ายปลาป่นแด่กลิ่นเหม็นมาก

8. ขนไก่ปนที่ผ่านขบวนการย่อยสลายแล้ว

9. โปรตีนจากชข้าวโพด

ลักษณะและคุณสมบัติมาตรฐานของปลาป่น

·ความชื้นไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์

·โปรตีนไม่ต่ำกว่า 52 เปอร์เซ็นต์

·ไขมันไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์

·แคลเซียมไม่เกิน 8 เปอร์เซ็นต์

·ฟอสฟอรัสไม่ต่ำกว่า 2.5 เปอร์เซ็นต์

·เกลือไม่เกิน 3.5 เปอร์เซ็นต์

·กลิ่นหอมแบบกลิ่นคาวปลาสด ไม่เหม็นเน่า เหม็นไหม้ เหม็นหืด และไม่มีกลิ่นยาฆ่าแมลง

ลักษณะเครื่องผลิตปลาป่น

รูปจาก http://asthaiworks.com/TH/Complete-Fishmeal-Plants/

แชร์ให้เพื่อน :