สถานการณ์ปลาป่นภายในประเทศ


แชร์ให้เพื่อน :

สถานการณ์ปลาป่นภายในประเทศ

1. การผลิตปลาป่น

ปลาเป็ด ปลาเป็ดที่ขึ้นที่ท่าเทียบเรือในภาคใต้ (ชุมพร สงขลา ปัตตานี ระนอง และภูเก็ต) เดือน เม.ย.62 มีปริมาณปลาเป็ด 4,103 ตัน ลดลง 26.7% เมื่อเทียบกับ เดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อนในเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.2 เท่าตัว ส าหรับเดือน ม.ค. – เม.ย.62 มีปริมาณปลาเป็ดรวม 15,533 ตัน เพิ่มขึ้น 56.1% เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน

ปลาเป็ด วัตถุดิบของปลาป่น

กราฟแสดงปริมาณปลาเป็ด

ที่มา : องค์การสะพานปลา

 

ปลาป่น ในเดือน เม.ย.62 ปลาป่นไทยประสบปัญหาเรื่อง 1) ความต้องการใช้ ในประเทศที่มีปริมาณไม่มากนัก เพราะในบางพื้นที่ประสบปัญหาอุณหภูมิของน้ าที่ สูงขึ้นในฤดูร้อน แพลงก์ตอนและเชื้อโรคต่าง ๆ สามารถเติบโตได้เร็วกว่าปกติท าให้กุ้ง เครียดและเกิดโรค ตลอดจนราคากุ้งไม่จูงใจให้เกษตรกรลงลูกกุ้ง 2) การส่งออก เนื่องจากจีนและเวียดนามซึ่งเป็นตลาดน าเข้าหลักของไทย ประสบปัญหาโรคระบาด ในสุกร ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ปลาป่นไทยมีราคาเพิ่มสูงขึ้น และแข่งขันกับคู่แข่งได้ยาก ท าให้เกิดอุปทานส่วนเกินในประเทศ เป็นเหตุให้ราคา ปลาป่นมีแนวโน้มลดลง (ที่มา :สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย)

2. ราคา

ราคาปลาเป็ด ที่ท่าเทียบเรือในภาคใต้ (ชุมพร สงขลา ปัตตานี ระนอง และภูเก็ต) เดือน เม.ย.62 ราคา 7.04 บาท/กก. เพิ่มขึ้น 0.3% และ 1.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และปีก่อนในเดือนเดียวกัน ตามลำดับ

กราฟแสดงราคาปลาเป็ด

ที่มา : องค์การสะพานปลา

ราคาปลาเป็ด จากสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย เดือน เม.ย.62 ราคา 7.92 บาท/กก. ลดลง 2.5% และ 15.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและปีก่อนในเดือนเดียวกัน ตามลำดับ

ราคาเฉลี่ยปลาป่น เบอร์ 1 โปรตีนสูงกว่า60% เดือน เม.ย.62 ราคา 32.65 บาท/กก. เพิ่มขึ้น 2.0% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อนในเดือนเดียวกัน ลดลง 15.2% ขณะที่ปลาป่นซูริมิ โปรตีนต่ำกว่า 60% เดือน เม.ย.62 ราคา 29.10 บาท/กก. ลดลง 1.7% และ 29.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และปีก่อนในเดือนเดียวกัน ตามลำดับ

กราฟแสดงราคาปลาป่น ปลาเป็ดโปรจีนสูงกว่า 60%

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย

 

3. การค้าต่างประเทศ

การส่งออก เดือน มี.ค.62 ไทยส่งออกปลาป่น 13,493ตัน เพิ่มขึ้น 36.8% และ 3.0% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและปีก่อนในเดือนเดียวกัน ตามล าดับ ในช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค.62 ไทยส่งออกปลาป่น ปริมาณ 28,802 ตัน ลดลง 15.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีตลาดหลัก คือ จีน 56.7% รองลงมาคือ เวียดนาม 16.9% ญี่ปุ่น 13.0% บังคลาเทศ 4.5% ออสเตรเลีย 4.2% และประเทศอื่นๆ 4.7%

กราฟแสดงปริมาณการส่งออกปลาป่นของไทย

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย

การนำเข้า เดือน มี.ค.62 ไทยน าเข้าปลาป่น 5,419ตัน เพิ่มขึ้น 33.0% เมื่อเทียบกับ เดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อนในเดือนเดียวกัน ลดลง 9.1% ในช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค.62 ไทยนำเข้าปลาป่น ปริมาณ 14,703 ตัน ลดลง 32.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยนำเข้าจากเมียนมาร์ 46.6% เวียดนาม 30.4% อินเดีย 12.3% และประเทศอื่นๆ10.7%

กราฟแสดงปริมาณการนำเข้าปลาป่นของไทย

ที่มา : สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย

 

ปลาป่น

สถานการณ์ภายนอกประเทศ
1. การผลิต
เปรูประกาศโควตาการจับปลาของเปรูในฤดูกาลใหม่ (พ.ค. – ก.ค.62) จำนวน 2.1
ล้านตัน ลดลงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับโควตาการจับปลาฤดูกาลก่อน (พ.ค. – ก.ค.
2561) (3.248 ล้านตัน) จำนวนโควตาที่ลดลงอาจส่งผลให้ราคาปลาป่นเปรูมีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นในอนาคต สำหรับราคา FOB ของปลาป่นโปรตีน 65 % เม.ย.62 อยู่ที่ 1,310 USD/
ตัน เพิ่มขึ้น 8.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อนในเดือนเดียวกัน ลดลง
0.4%
(ที่มา : http://hammersmithltd.blogspot.com/)

2. การตลาดและการค้า
จีน มีรายงานว่าจีนมีสต็อกปลาป่นคงเหลือมากถึง 2.2 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการใช้
ปลาป่นในประเทศยังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเกษตรกรประสบปัญหาโรคระบาดในสุกร จีนจึงชะลอการนำเข้าปลาป่นจากต่างประเทศ (ที่มา :
สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย)

ปัญหาอุปสรรค
แนวโน้มความต้องการใช้ปลาป่นในวัตถุดิบอาหารสัตว์ในอนาคตอันใกล้ ต้องการวัตถุดิบ
ทดแทนปลาเป็ดที่ได้จากการทำประมง ซึ่งมีปริมาณไม่แน่นอน และมีแนวโน้มลดลง
ขณะเดียวกันวัตถุดิบเหล่านั้นต้องมีคุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐาน สามารถตรวจสอบ
ย้อนกลับถึงแหล่งที่มาได้ ซึ่งขณะนี้ไทยประสบปัญหาในอุตสาหกรรมปลาป่น ทั้งความ
ต้องการใช้ในประเทศ และการส่งออกที่มีแนวโน้มลดลง

แนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรค
1. ชาวประมงควรเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลรักษาสัตว์น้ำหลังการจับ (Post harvest)
เพื่อให้สัตว์น้ำเหล่านั้นมีคุณภาพดีและชาวประมงได้รับราคาที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็น
การลดปริมาณสัตว์น้ำเหล่านั้นที่ชาวประมงอาจต้องขายเป็นปลาเป็ด เนื่องจากการดูแล
รักษาหลังการจับที่ไม่ดีเท่าที่ควร
2. ผู้ประกอบการปลาป่นควรปรับปรุงการผลิตให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
3. ผู้ผลิตอาหารสัตว์อาจต้องปรับตัวด้วยการปรับเปลี่ยนสูตรอาหารโดยใช้สินค้าโปรตีนอื่นทดแทน

กลุ่มเศรษฐกิจการประมง โทร. 02561 3353
ผู้จัดทำรายงาน นางสาวจิตรลดา ศรีตระกูล

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.fisheries.go.th/strategy/fisheconomic/pages/fish%20meal.html

แชร์ให้เพื่อน :