รำข้าว


แชร์ให้เพื่อน :

รำข้าวเลี้ยงสัตว์

รำข้าวสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์

รำข้าวถือว่าเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ที่ใช้เลี้ยงสัตว์กันมานานมาก และเป็นที่นิยม สมัยเด็กๆหากบ้านไหน เลี้ยงหมู คงเคยได้เห้นรำข้าวที่ได้จากโรงสีข้าว ที่เราไปซื้อมาเพื่อผสมกับหยวกกล้วย เพื่อเป็นอาหารสัตว์หมูนั่นเอง นอกจากนี้การใช้รำข้าวยังช่วยประหยัดต้นทุนเพราะรำข้าวมีราคาถูก

แผนภูมิการแปรรูปข้าวและผลพลอยได้

รำข้าวมีคุณค่าทางอาหารประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร เถ้า วิตามิน และเกลือแร่ต่าง ๆ ปัจจุบันมีการนำรำข้าวมาใช้ประโยชน์ เช่น น้ำมันรำข้าว รำข้าว คือ ส่วนที่ได้จากการขัดข้าวกล้องให้เป็นข้าวสาร ซึ่งประกอบด้วยชั้นเยื่อหุ้มเมล็ด และคัพภะ เป็นส่วนใหญ่ ได้มาจากกระบวนการสีข้าว โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ รำหยาบ ซึ่งได้จากการขัดผิวเมล็ดข้าวกล้อง และรำละเอียด ได้จากการขัดขาวและขัดมัน รำข้าวมีคุณค่าทางอาหารประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน ใยอาหาร เถ้า วิตามิน และเกลือแร่ต่าง ๆ ปัจจุบันมีการนำรำข้าวมาใช้ประโยชน์ เช่น น้ำมันรำข้าว เป็นน้ำมันสำหรับบริโภคที่มีคุณภาพดี จัดเป็นน้ำมันบริโภคที่มีคุณภาพ มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว 77% เป็นกรดไขมันที่จำเป็น 31.7% เป็นแหล่งของวิตามินอี มีสมบัติเป็นสารกันหืน ช่วยเร่งการเจริญเติบโตรวมทั้งช่วยให้ระบบการหมุนเวียนของเลือดดีขึ้น น้ำมันรำข้าว เมื่อนำมาปรับปรุงคุณสมบัติด้วยกระบวนการเคมีฟิสิกส์ สามารถผลิตเป็นกะทิแปลงไขมัน ผลิตสบู่และเนยขาวอเนกประสงค์ได้.
https://www.kroobannok.com/65633

การใช้รำข้าวเลี้ยงสัตว์
รำข้าว (rice bran)
รำข้าวแยกออกเป็น 2 ชนิด คือ รำหยาบและรำละเอียด รำหยาบมีส่วนผสมของแกลบปน ทำให้คุณค่าต่ำกว่ารำละเอียดเพราะมีเยื่อใยสูงและมีแร่ซิลิกาปนในแกลบมาก รำเป็นส่วนผสมของเพอริคาร์บ (pericarp) อะลิวโรนเลเยอร์ (aleuron layer) เยอร์ม (germ) และบางส่วนของเอนโดสเปอร์ม (endosperm) ของเมล็ด รำหยาบมีโปรตีนประมาณ 8 – 10 เปอร์เซ็นต์ ไขมันประมาณ 7 – 8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนรำละเอียดมีโปรตีนประมาณ 12 – 15 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 12 – 13 เปอร์เซ็นต์ รำมีไขมันสูงจึงไม่ควรเก็บรำไว้นานเกิน 15 – 20 วัน เพราะจะมีกลิ่นจากการหืน รำข้าวที่ได้จากการสีข้าวเก่ามีความชื้นต่ำทำให้เก็บได้นานกว่ารำข้าวใหม่ที่มีความชื้นสูง เชื้อราขึ้นง่ายและเหม็นหืนเร็ว ส่วนรำข้าวนาปรัง อาจมีสารตกค้างของยาฆ่าแมลงปะปนมาด้วย รำข้าวเป็นอาหารคาร์โบไฮเดรตที่มีกรดอะมิโนค่อนข้างสมดุล มีคุณค่าทางอาหารสูง มีวิตามินบีค่อนข้างมาก รำที่สกัดน้ำมันออกโดยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น รำอัดน้ำมัน (hydraulic press) หรือรำสกัดน้ำมัน (solvent extract) จะเก็บได้นานกว่า และมีปริมาณของโปรตีนสูงกว่ารำข้าวธรรมดา เมื่อคิด ต่อหน่วยน้ำหนัก แต่ปริมาณไขมันต่ำกว่า คุณภาพของรำสกัดน้ำมันขึ้นอยู่กับกรรมวิธีเพราะ ถ้าร้อนเกินไปทำให้คุณค่าทางอาหารเสื่อม โดยเพราะกรดอะมิโนและวิตามินบีต่าง ๆ ปัญหาในการใช้ พบว่ามักมีหินฝุ่นหรือดินขาวปนมา ทำให้คุณค่าทางอาหารต่ำลง หรืออาจมียากำจัดแมลง สารเคมี หรือมีแกลบปะปน

รำละเอียด (rice bran) เป็นผลิตผลพลอยได้จากกระบวนการสีข้าว โดยได้จากการขัดส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มเล็ดข้าวออก ทำให้ข้าวสารมีสีขาวสวย รำละเอียดถือว่าเป็นวัตถุดิบอาหารที่ได้รับความนิยมผสมอาหารสัตว์โดยทั่วไป เพราะเป็นวัตถุดิบอาหารที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นทั่วไป มีราคาถูกกว่าปลายข้าว ในขณะที่มีปริมาณโปรตีนมากกว่า การใช้ในสูตรอาหารสัตว์มักทำให้ราคาสูตรอาหารถูกลง อีกทั้งรำละเอียดคุณภาพดี จะมีกลิ่นหอมชวนกินด้วย จึงทำให้มีการใช้รำละเอียดเป็นวัตถุดิบในสูตรอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ อย่างแพร่หลาย

เช่นเดียวกันกับปลายข้าว รำละเอียดที่มีขายในท้องตลาดจะมีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ รำข้าวเจ้า รำข้าวเหนียว และรำข้าวนึ่ง ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการสีข้าวเจ้า ข้าวเหนียว และข้าวนึ่ง ตามลำดับ

รำละเอียดทุกชนิดโดยทั่วไปมีองค์ประกอบคุณค่าทางอาหารไม่แตกต่างกันมาก โดยมีโปรตีนประมาณ 12% ไขมันประมาณ 12-13% และเยื่อใยประมาณ 13% เช่นกัน และมีองค์ประกอบคุณค่าทางอาหารอื่นๆ รำละเอียดจึงเป็นวัตถุดิบอาหารที่ให้โปรตีนและไขมันสูงกว่าปลายข้าว ในขณะที่รำละเอียดมักมีราคาถูกกว่าปลายข้าว การใช้รำละเอียดในสูตรอาหารจึงมักทำให้สูตรอาหารมีราคาถูกลง ไขมันในรำละเอียดเป็นไขมันเหลว มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง โดยเฉพาะกรดลิโนเลอิค (linoleic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นสำหรับสัตว์ปีก รำละเอียดจึงเหมาะที่จะใช้เป็นวัตถุดิบอาหารเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก เพื่อใช้เป็นแหล่งให้กรดไขมันจำเป็นในอาหารดังกล่าว อีกทั้งยังเหมาะใช้เลี้ยงสุกรเพื่อเป็นแหล่งให้ไขมันเหลวในสูตรอาหาร ช่วยป้องกันอาการไขมันแข็งในซากสุกรด้วย

รำข้าว

รำข้าว

รำละเอียดถือว่าเป็นวัตถุดิบอาหารพลังงานพื้นฐานที่มีการใช้ในสูตรอาหารสุกรและสัตว์ปีกชนิดต่างๆ มาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยใช้ในระดับสูงสุดไม่เกิน 30% ในสูตรอาหาร และมักใช้ร่วมกับวัตถุดิบอาหารพลังงานอื่นๆ เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง หรือมันสำปะหลัง โดยทั่วไปรำละเอียดมีราคาถูกกว่าปลายข้าว แต่มีระดับโปรตีนสูงกว่า ดังนั้นรำละเอียดมักจะถูกเลือกใช้ในสูตรอาหารสัตว์ เพราะเป็นแหล่งโปรตีนราคาถูกด้วย เมื่อใช้ในสูตรอาหารแล้วทำให้สูตรอาหารมีราคาถูกลง

อย่างไรก็ตามรำละเอียดเป็นวัตถุดิบอาหารที่มีระดับเยื่อใยอยู่ในเกณฑ์สูง (12-13%) และมีความฟูหรือฟ่ามมาก รำละเอียดจึงควรใช้ในสูตรอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ ได้ไม่เกิน 50% ในสูตรอาหาร หากใช้ในระดับสูงมากกว่านี้จะมีผลทำให้อาหารมีลักษณะฟ่ามมาก ทำให้สัตว์กินอาหารได้น้อย และมีผลทำให้การเติบโตและประสิทธิภาพการใช้อาหารด้อยลง สัตว์ระยะเล็กที่ต้องการอาหารที่มีระดับเยื่อใยต่ำ จึงทำให้มีการใช้รำละเอียดในสูตรอาหารดังกล่าวในระดับต่ำตามไปด้วย

รำละเอียดที่ใช้ควรมีคุณภาพดี ได้แก่ มีความชื้นต่ำ ไม่มีการปนปลอมของแกลบบด ดินขาว หรือหินฝุ่น มีระดับเยื่อใยไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ ไขมันในรำละเอียดยังไม่หืน รำละเอียดไม่ขึ้นรา หรือจับเป็นก้อน ไม่มีการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลง รำละเอียดดังกล่าวจึงจะเป็นวัตถุดิบอาหารที่ดีแก่สัตว์

ไขมันในรำละเอียดเป็นไขมันไม่อิ่มตัว มีโอกาสหืนได้ง่าย และทำให้อายุการเก็บรำละเอียดสั้นลง รำละเอียดที่แห้ง (ความชื้นต่ำ) และเก็บไว้ในกระสอบป่าน ควรใช้ให้หมดภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่ถ้ารำละเอียดนั้นมีความชื้นสูง จะเกิดการหืนที่เร็วขึ้น ยิ่งทำให้อายุการเก็บรำละเอียดสั้นลงไปอีก การใช้รำละเอียดจากข้าวนาปรังจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะรำละเอียดดังกล่าวมักจะมีความชื้นสูง และเก็บได้ไม่นาน เกิดการหืน และขึ้นราง่าย นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่มียาฆ่าแมลงปนเปื้อนมาด้วย ถ้าจำเป็นต้องใช้รำละเอียดดังกล่าวควรรีบใช้โดยเร็ว และควรใช้เป็นอาหารของสัตว์ที่มีความทนทานต่อสารพิษสูง เช่น สุกรขุน เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากหลีกเลี่ยงการใช้รำละเอียดคุณภาพต่ำดังกล่าวได้ ก็ควรหลีกเลี่ยงไม่ใช้รำละเอียดนั้นในอาหารสัตว์ รำข้าวนาปรังที่มีความชื้นสูง ไม่แนะนำให้ใช้ในอาหารสัตว์วัยอ่อนและวัยรุ่น รวมทั้งในอาหารสัตว์พ่อแม่พันธุ์และอาหารไก่ไข่ เพราะสัตว์เหล่านี้มีความไวต่อสารพิษเชื้อราและสารพิษยาฆ่าแมลง ที่อาจปนเปื้อนมากับรำละเอียด ทำให้เปอร์เซ็นต์การไข่ของไก่ลดลง แม่สุกรเกิดการแท้งลูกได้

การใช้รำละเอียดระดับสูงในสูตรอาหารจะทำให้ไขมันในตัวสัตว์เป็นไขมันเหลว หรือหากไขมันในตัวสัตว์เป็นไขมันแข็งอยู่ (ด้วยเหตุผลใดก็ตาม) และต้องการปรับไขมันในซากให้เป็นไขมันเหลว ก็อาจทำได้โดยการใช้รำละเอียดระดับสูงในสูตรอาหารนั้น ซึ่งจะช่วยทำให้ไขมันในซากสัตว์มีลักษณะอ่อนตัวลง

ในช่วงที่รำละเอียดมีราคาแพง เช่น ในสภาวะมีการสีข้าวน้อย รำละเอียดออกสู่ท้องตลาดน้อย รำละเอียดอาจมีการปนปลอมด้วยรำหยาบ หรือแกลบบดละเอียด ซึ่งมีผลทำให้ระดับเยื่อใยของรำละเอียดสูงขึ้น นอกจากนี้เยื่อใยในแกลบจะมีปริมาณสารไฟติน ซึ่งเป็นสารขัดขวางโภชนะในระดับสูง รำละเอียดยังมีการปนปลอมด้วยแกลบบดในระดับสูงมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งทำให้รำละเอียดนั้นมีระดับเยื่อใยและระดับสารไฟตินสูงมากขึ้นเท่านั้น สารไฟตินเป็นสารขัดขวางโภชนะที่ไปยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก ธาตุทองแดง ธาตุสังกะสี และธาตุแมงกานีส ในสูตรอาหาร การใช้รำละเอียดที่มีการปนปลอมด้วยแกลบบดในระดับสูง ทำให้สูตรอาหารมีคุณค่าทางอาหารต่ำลง และตัวสัตว์อาจแสดงอาการขาดธาตุต่างๆ ข้างต้น โดยเฉพาะอาการขาดธาตุสังกะสีในเวลาอันรวดเร็ว การซื้อรำละเอียดมาใช้เป็นอาหารสัตว์ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบการปนปลอมด้วยแกลบบดเป็นอย่างดีด้วย

รำละเอียดบางพื้นที่อาจมีการปนปลอมด้วยดินขาวหรือหินฝุ่นมาก ทำให้คุณค่าทางอาหารลดลง อีกทั้งสูตรอาหารจะมีระดับธาตุแคลเซียมสูงเกินกว่าปกติที่ควรจะเป็น จึงส่งผลไปขัดขวางการใช้ประโยชน์ได้ของธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี และแมงกานีส ทำให้สัตว์แสดงอาการขาดธาตุเหล่านี้ได้เช่นกัน การซื้อรำละเอียดมาเป็นอาหารสัตว์จึงจำเป็นต้องตรวจสอบการปนปลอมด้วยวัสดุเหล่านี้ด้วย

ที่มา อาหารสุกรและสัตว์ปีกเชิงประยุกต์ โดย รองศาสตราจารย์อุทัย คันโธ

คุณสมบัติ

โปรตีนประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นรำที่ได้จากโรงสีขนาดกลาง หรือเล็กซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า รำปิ่นแก้ว จะมีโปรตีนต่ำประมาณ 7% เนื่องจากมีส่วนของแกลบปนอยู่มาก
มีไขมันสูง 12-13 เปอร์เซ็นต์ ทำให้หืนง่าย เก็บไว้ไม่ได้นาน
มีไวตามินบี ชนิดต่างๆ สูง ยกเว้นไนอะซีน ซึ่งอยู่ในรูปที่สัตว์ใช้ประโยชน์ได้น้อย
มีคุณสมบัติเป็นยาระบาย ถ้าใช้เป็นส่วนประกอบในสูตรอาหารสัตว์ในปริมาณที่สูง จะทำให้สัตว์ถ่ายอุจจาระเหลว

ข้อจำกัดในการใช้

ไม่ควรใช้ประกอบสูตรอาหารสุกรเล็ก ระยะหย่านม ถึง 10 สัปดาห์ เนื่องจากมีปริมาณเยื่อใยสูง

ข้อแนะนำในการใช้

  • ควรใช้รำละเอียดที่ใหม่ ไม่มีกลิ่นหืน
  • ไม่ควรเก็บรำละเอียดไว้นานเกิน 30-40 วัน เพราะรำละเอียดจะเริ่มหืนสัตว์ไม่ชอบกิน
  • ในสุกรระยะเจริญเติบโต (น้ำหนัก 20-60 กก.) ไม่ควรเกิน 30 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร
  • สามารถใช้รำละเอียด ผสมในอาหารสุกรพ่อแม่พันธุ์ได้มากกว่า 30เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร
  • ในอาหารไก่เนื้อ ไม่ควรใช้รำละเอียดเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร
  • เลือกซื้อรำที่ใหม่ และไม่มีการปลอมปนด้วย วัสดุต่างๆ เช่น ดินขาวป่น หินฝุ่น ซังข้าวโพดบดละเอียด เป็นต้น

ส่วนประกอบทางเคมีของรำข้าว

ส่วนประกอบ
ความชื้น 12
โปรตีน 12
ไขมัน 12
เยื่อใย 11
เถ้า 10.9
แคลเซียม 0.06
ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์ได้ 0.47
พลังงานใช้ประโยชน์ได้ (กิโลแคลลอรี่ / กก
ในสุกร 3,120
ในสัตว์ปีก 2,710
กรดอะมิโน %
ไลซีน 0.55
เมทไธโอนีน 0.25
เมทไธโอนีน + ซีสตีน 0.50
ทริปโตเฟน 0.10
ทรีโอนีน 0.40
ไอโซลูซีน 0.45
อาร์จินีน 0.95
ลูซีน 0.81
เฟนิลอะลานีน + ไทโรซีน 0.92
อิสติดีน 0.32
เวลีน 0.69
ไกลซีน 0.61
แชร์ให้เพื่อน :