ข้าวโพดเม็ด


แชร์ให้เพื่อน :

ข้าวโพดเม็ด

การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 

ข้าวโพดCorn1

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปัจจุบันมีการปลูกแต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ซื้อในตลาดโลกมากนัก แต่เดิมมีการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่1

ถือว่ามีการใช้ข้าวโพดในการเลี้ยงสัตว์มานานมากแล้ว ข้าวโพดที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์มีการปลูกอยู่หลายสายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยคือ พันธุ์กัวเตมาลา พียี 12(Rep.1) กัวเตมาลา พีบี 12(Rep.2) พีบี 5 ข้าวโพดเหนียว และโอเปค-2 มีเมล็ดตั้งแต่สีขาว สีเหลืองไปจนถึงสีแดง ขนาดของเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 0.5-0.8 ซม. ก่อนนำมาเลี้ยงสัตว์จึงต้องบดก่อนเพื่อช่วยให้การย่อยและการผสมได้ผลดีขึ้น ที่บดแล้วจะมีขนาดประมาณ 1-8 มม.

ข้าวโพดเม็ด ใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์

โดยทั่วไปข้าวโพดจัดออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
1.ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ (Field Corn)

ที่รู้จักในปัจจุบันมีข้าวโพดหัวบุ๋ม(Dent Coorn) และข้าวโพดหัวแข็ง (Fint Corn) ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะเมล็ดข้าวโพดหัวบุ๋มหรือหัวบุบ ข้าวโพดชนิดนี้เมื่อเมล็ดแห้งแล้วตรงส่วนหัวบนสุดจะมีรอยบุ๋มลงไป ซึ่งเป็นส่วนของแป้งสีขาว ข้าวโพดชนิดนี้สำคัญมากและนิยมปลูกกันมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทางแถบคอร์นเบลท์ สีของเมล็ดมีตั้งแต่ขาวไปจนถึงเหลือง เนื่องจากมีหลายสายพันธุมีโปรตีนน้อยกว่าพวกข้าวโพดหัวแข็งข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดพันธุ์นี้ส่วนขนสุดของเมล็ดมักมีสีเหลืองจัดและเมื่อแห้งจะแข็งมาก ภายในเมล็ดมีสารที่ทำให้ข้าวโพดมีสีเหลืองจัดเป็นสารให้สีที่ชื่อ คริปโตแซนทีน (Cruptoxanthin) สารนี้เมื่อสัตว์ได้รับร่างกายสัตว์จะเปลี่ยนสารนี้ให้เป็นไวตามินเอ นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยให้ไข่แดงมีสีแดงเข้ม ช่วยให้ไก่มีผิวหนัง ปาก เนื้อ และแข้งมีสีเหลืองเข้มขึ้น เป็นที่นิยมของตลาดโดยเฉพาะแถบอเมริกาส่วนอังกฤษนั้นนิยมใช้ข้าวโพดขาว

2.ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่การแปรรูปเมล็ดมักจะใสและเหี่ยวเมื่อแก่เต็มที่ เพราะมีน้ำตาลมากก่อนที่จะสุกจะมีรสหวานมากกว่าชนิดอื่น ๆ จึงเรียกข้าวโพดหวาน มีหลายสายพันธุ์
3.ข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดค่อนข้างแข็ง สีดีและขนาดแตกต่างกัน สำหรับต่างประเทศ ถ้าเมล็ดมีลักษณะแหลมเรียกว่า ข้าวโพดข้าว (Rice Corn) ถ้าเมล็ดกลม เรียกว่า ข้าวโพดไข่มุก (Pearl Corn)
4. ข้าวโพดแป้ง (Flour Corn) เมล็ดมีสีหลายชนิด เช่น ขาว (ขุ่น ๆ หรือปนเหลืองนิด ๆ) หรือสีน้ำเงินคล้ำ หรือมีทั้งสีขาวและสีน้ำเงินคล้ำในฝักเดียวกัน เนื่องจากกลายพันธุ์ พวกที่มีเมล็ดสีคล้ำและพวกกลายพันธุ์เรียกว่าข้าวโพดอินเดียนแดง (Squaw Corn) หรือเรียกได้อีกชื่อว่าข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง (Native Corn) พวกข้าวโพดสีคล้ำนี้จะมีไนอาซีน สูงกว่าข้าวโพดที่มีแป้งสีขาว
5. ข้าวโพดเทียน (Waxy Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน จะมีแป้งที่มีลักษณะเฉพาะคือ นุ่มเหนียว เพราะในเนื้อแป้งจะประกอบด้วยแป้งพวกแอมมิโลเปคติน (Amylopectin) ส่วนข้าวโพดอื่น ๆ มีแป้งแอมมิโลส (Amylose) ประกอบอยู่ด้วย จึงทำให้แป้งค่อนข้างแข็ง

วิธีการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ใช้ได้หลายรูปแบบทั้งอาหารหยาบและอาหารข้น การใช้ในรูปอาหารหยาบคือ ใช้ต้น ใบ ซัง ทั้งสภาพสด และแห้งและหมักส่วนอาหารข้นใช้ได้ทั้งเมล็ด ทั้งในรูปแหล่งให้พลังงานและแหล่งเสริมโปรตีน ซึ่งได้จากผลิตภัณฑ์ข้างเคียงจากอุตสาหกรรมแป้งข้าวโพด น้ำมันข้าวโพด และน้ำหวานจากข้าวโพด ซึ่งผลิตภัณฑ์ข้างเคียงเหล่านี้มีหลายชนิด

1.เมล็ดข้าวโพดบด (Ground corn Cracked corn หรือ Corn meal) โดยปกติ หมายถึงเม็ดข้าวโพดที่มีสีออกจากฝักแล้วนำมาบดหรือทำให้แตกออก การบดไม่ควรบดให้ละเอียดเกินไป เพราะสัตว์ไม่ชอบกิน ข้าวโพดที่บดแล้วจะเก็บไว้ได้นานต้องมีความชื้นไม่เกิน 12 % ข้าวโพดบดผสมอาหารได้ดีถึง 70-80 % โดยไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ ถือว่าเป็นอาหารชั้นที่ดี ลักษณะข้าวโพดบดแบบนี้มักนิยมบดใช้เองในฟาร์ม
ในต่างประเทศ ข้าวโพดบดจากกรรมวิธีการผลิตในปัจจุบัน หมายถึงข้าวโพดที่แยกเอาส่วนของเปลือกนอกของเมล็ด (Hull) และส่วนจุดงอกหรือคัพภะ (Germ) ของเมล็ดออกไปแล้วและนำมาบด เมล็ดข้าวโพดบดไม่ควรมีสิ่งแปลกปลอมมากเกิน 4 % สิ่งที่มักปนมาคือ ซังและเปลือกข้าวโพดสำหรับการเก็บเมล็ดข้าวโพด จะต้องเก็บในลักษณะที่เมล็ดแห้งจริง ๆ เมล็ดข้าวโพดนิยมใช้เป็นอาหารสุกร วัว สัตว์ปีก ม้า ล่อ และแพะ-แกะ และนอกจากนี้ใช้หมักทำแอลกอฮอล์ และประกอบเป็นอาหารคน เล่น ทำแป้งข้าวโพด สกัดเอาน้ำมันข้าวโพด ทำน้ำหวานจากข้าวโพด น้ำตาลหรือน้ำส้มจากข้าวโพด หรือบริโภคในรูปข้าวโพดทั้งฝัก หรือข้าวโพดคั่ว นอกจากจะนิยมรับประทานโดยไม่แปรรูป แล้วอาจนำมาทำเป็นเครื่องกระป๋อง หรือต่างประเทศนิยมแช่แข็งเก็บไว้บริโภค คุณค่าของโภชนะในข้าวโพดที่ปลูกในอเมริกา ค่อนข้างจะแปรปรวนขึ้นอยู่กับพันธุ์ และสถานที่ปลูก ข้าวโพดมีไวตามินเอ สูงมาก แต่มีไวตามินบีรวมต่ำ ก่อนจะบดข้าวโพดต้องเลือกสิ่งแปลกปลอมออก

2.ข้าวโพดบดทั้งฝักโดยแกะเปลือกออกแล้ว (Corn and cob meal หรือ Ground ear corn) โดยปกติจะมีซังติดมาตามธรรมชาติประมาณ 20% เป็นอาหารที่เบาฟ่าม มีกากมากขึ้นเมื่อเทียบกับเมล็ดข้าวโพดบด เหมาะสำหรับแม่โค พ่อโคพันธุ์เนื้อ โคนม ในกรณีที่ใช้ในไก่ไข่และไก่ระยะเติบโตจะให้ผลดีเท่ากับเมล็ดข้าวโพดบดละเอียด เหมาะสำหรับสุกอุ้มท้องเพื่อกันอ้วน แต่ไม่เหมาะสำหรับสุกรขุน แต่ถึงอย่างไรซังข้าวโพดยังมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าฟางข้าว แม้ว่าโปรตีนจะย่อยค่อนข้างยาก เนื่องจากซังข้าวโพดย่อยยาก การบดข้าวโพดทั้งฝัก ถ้าบดละเอียด หมายถึงข้าวโพดต้องสามารถผ่านตะแกรงเบอร์ 4 ได้ทั้งหมด และผ่านเบอร์ 10 ได้ 50 % บางครั้งจะมีการบดข้าวโพดทั้งฝักโดยไม่แกะเปลือกออก กรณีนี้จะมีเยื่อใยมากขึ้น คุณค่าทางอาหารจะน้อยกว่าที่กล่าวมา

3.เลี้ยงสัตว์โดยใช้ข้าวโพดทั้งฝัก โดยให้สัตว์กินเอาเปลือกออกหรือไม่ก็ตาม และมีอาหารโปนตีน ไวตามิน แร่ธาตุใส่รางต่างหาก ข้าวโพดที่ไม่ได้แกะเปลือกออกจะป้องกันตัวเพลี้ยได้ดี ข้าวโพดทั้งฝักที่เก็บในโรงเก็บจะมีความชื้นประมาณ 14 % ซึ่งในระยะที่ปลิดฝักจะมีความชื้นตั้งแต่ 16-30 % การให้ข้าวโพดทั้งฝักใช้ได้ดีในพวกวัว
4. ซังข้าวโพด อันที่จริงแล้วจัดเป็นอาหารหยาบที่ให้พลังงาน(Cob meal Ground corn cob ) หมายถึง ฝักข้าวโพดที่กะเทาะเปลือกออกแล้วนำมาบดเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องเช่น วัวนม หรือพ่อโค แม่พันธุ์โคเนื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เคี้ยวเอื้องอ้วนเกินไป และยังช่วยเพิ่มปริมาณไขมันนมให้สูงขึ้น เพราะเป็นอาหารที่มีเยื่อใย (กาก) สูงแต่ยังมีคุณค่าสูงกว่าฟางข้าว นิยมใช้เมื่อขาดแคลนหญ้าสด แต่เนื่องจากซังข้าวโพดย่อยยาก ดังนั้น ก่อนนำมาเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องจะต้อง
4.1 บดจนละเอียด
4.2 มีอาหารเสริมโปรตีนอย่างเพียงพอ (เพื่อช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร)
4.3 ใช้อาหารที่มีแป้งที่ละลายได้หรือย่อยง่ายผสมด้วย
4.4 เสริมแร่ธาตุโดยเฉพาะฟอสฟอรัส ซึ่งสัตว์มักขาดหากใด้รับซังข้าวโพดบดใช้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องได้แต่ไม่เหมาะกับสุกร ไก่ นอกจากนำมาเป็นวัสดุรองพื้นคอก อัตราที่ใช้เลี้ยงวัวได้ผลดีใกล้เคียงกับหญ้าสด คือ 2 กก./ วัน

5.ข้าวโพดบดชนิดหยาบ (Screened cracked corn Screened corn หรือ Screened corn chop)
หมายถึง ข้าวโพดที่ถูกนำมาร่อน เพื่อแยกเอาส่วนที่ละเอียดหรือมีขนาดเล็กออกไป ส่วนที่เหลือจะมีขนาดใหญ่ จึงเรียก สกรีน แครก คอร์น ซึ่งในที่นี้เรียกเป็นข้าวโพดบดชนิดหยาบ ไม่ควรมีสิ่งแปลกปลอมเกิน 4%

6.ปลายข้าวโพด (Corn Grits หรือ Hominy grits) เป็นส่วนที่แข็งมากของเมล็ดขนาดกลางซึ่งอาจมีส่วนของรำและบริเวณที่งอกเป็นต้นข้าวโพด (Germ) ปนมาบ้างเล็กน้อย หรือไม่มีเลย แป้งส่วนที่แข็งมากนี้มีสีเหลืองและสีขาวหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง มีไขมันไม่เกิน 4% ถ้าเมล็ดสีขาวจะเรียก (White corn grits ) ถ้าเป็นสีเหลืองเรียก (Yellow corn Grits)

7.กลุ่มผลิตผลพลอยได้จากการทำแป้งข้าวโพด ในการทำแป้งข้าวโพด จะมีผลพลอยได้หลายชนิด ทั้งที่มีโปรตีนสูง จึงเป็นแหล่งโปรตีน
7.1โฮมินีฟีด (Hominy feed ) เป็นส่วนผสมของรำข้าวโพด ส่วนของเจิร์มและส่วนที่เป็นแป้ง ไม่ว่าจะเป็นสีขาวหรือเหลือง ซึ่งเป็นผลิตผลข้างเคียงจากการผลิต คือเมล็ดข้าวโพดบดที่ขัดเอาส่วนเปลือกผิว และเจิร์มออกไปแล้ว ผู้คนนิยมนำไปต้มบริโภค เรียก ( Table corn meal) โฮมินีฟีดนี้จะมีไขมันอยู่ไม่น้อยกว่า 4%ได้มีการทดลองพบว่ามีไขมันอยู่ตั้งแต่ 4.3-7.8 % ค่า EM ตั้งแต่2618-3366 Kcal ME/kg. ที่ความชื้น 10% ในปัจจุบันโรงงานใช้ระบบเคมีสกัด(Solvent extracted
hominy feed ) จะให้พลังงานต่ำกว่านี้ มีคุณค่าอาหารสัตว์ปีกน้อยลง เป็นแหล่งที่มีกรดไขมันลิโนเลอิกมากพอสมควร สามารถใช้แทนข้าวโพดในสูตรอาหารปศุสัตว์ และใช้แทนเมล็ดธัญพืชในสูตรอาหารสัตว์ปีก
7.2 คอร์นแพลนท์พัล์พ (Corn plant pulp) เป็นกากข้าวโพดที่ได้จากการคั้นเอาน้ำข้าวโพดออกไปแล้ว นำมาทำให้แห้ง ส่วนน้ำข้าวโพดนำไปทำน้ำเชื่อมหรือน้ำตาลต่อไป
7.3 ฮีทโปรเสสคอร์น (Heat process cord) คล้ายข้าวโพดบดทั้งฝัก แต่ชื่อเรียกต่างกันตามการทำ โดยนำข้าวโพดทั้งฝักยังไม่แกะเปลือกมานึ่งภายใต้ความดัน หรืออบให้แห้งด้วยความร้อนโดยตรง แล้วบดหรืออัดเม็ด หรือทับเป็นแผ่น แบนๆ เช่น Corn Flake

แผนภูมิแปรรูปข้าวโพดและผลพลอยได้

แผนภูมิแปรรูปข้าวโพดและผลพลอยได้

 

คุณค่าทางอาหารของข้าวโพด
มีแป้ง 65%
เยื่อใยต่ำ มีพลังงานแบบเมตาโบไลซ์ (ME) สูง
มีไขมัน 3-6% มีกากไขมันไม่อิ่มตัวสูง มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดไขมันเหลวในสัตว์ได้
โปรตีนรวม 8-13% มีอยู่ 2 ชนิด คือซีนหรือ เซอีน (Zein) ซึ่งพบในเนื้อใน (Endosperm) ในปริมาณมาก แต่โปรตีนชนิดนี้ขาด (Lysine) และ (Tryptophan)
ส่วนกลูเทนิน จะพบใน Endosperm น้อย
และคัพภะ มีอยู่บ้าง แต่มีส่วนประกอบของ EAA ดีกว่าZein เพราะมีไลซีน และทริปโตเฟน ประกอบอยู่ในปริมาณที่สูงกว่า

นักผสมพันธุ์พืชได้พยายามผสมพันธุ์ และปรับปรุงพันธุ์ข้อบกพร่องเรื่อง EAA ของข้าวโพด และได้พันธุ์ (OpaQue-2) มาแทน บางครั้งเรียก ข้าวโพดไลซีนสูงและยังมีกลูเทลินสูงกว่า เซอีน เมื่อเทียบกับข้าวโพดธรรมดา ถ้าใช้แล้วเสริมด้วยเมไธโอนีน ในอาหารหนู คน สุกร ไก่ จะทำให้ใช้ข้าวโพดดียิ่งขึ้น มีคุณค่าทางอาหารสูงขึ้นนอกจากนี้มีพันธุ์ฟลาวรี่ –2 ซึ่งเป็นพันธุ์ใหม่ มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า Opaque-2 โดยมีโปรตีนสูงกว่า ส่วนกรดอะมิโน มีEAA หลายตัวสูงกว่าโดยเฉพาะ Methyonine ถึงแม้จะมีบางตัวต่ำกว่าเล็กน้อยก็ตาม

 

ทุ่งข้าวโพดCorn1

ข้าวโพด และข้าวโพดบด
ข้าวโพดที่บดแล้วจะยากต่อการตรวจสอบด้วยตาเปล่า และมีราคาแพงกว่าข้าวโพดที่ ยังไม่ได้บด โรงงานอาหารสัตว์ส่วนใหญ่จึงนิยมซื้อข้าวโพดเป็นเมล็ด และนํามาเก็บในไซโลขนาด ใหญ่ เมล็ดข้าวโพดควรเป็นเมล็ดขนาดใหญ่สมบูรณ์ ผิวเป็นมันวาว สีเหลืองหรืออมส้ม เมล็ดไม่ลีบ แตกงอกหรือถูกมอดกัดกิน มีกลิ่นหอมไม่เหม็นอับ หรือกลิ่นยาฆ่าแมลง เมล็ดข้าวโพดควรแข็ง ไม่ มีเชื้อราสีเขียวหรือสีดํา และไม่มีส่วนของซังข้าวโพด (corn cob) บดปน ข้าวโพคบคจะมีส่วนของ แป้งสีขาว (white starch) ซึ่งนุ่มอ่อนและแป้งมีสีเหลือง (yellow starch) ซึ่งแข็ง (horny) ปนกัน ข้าวโพดต้องผ่านกระบวนการก่อนใช้เช่น บดและ บีบแตก (Church and Pond, 1988) สารสีเหลือง ในข้าวโพดประกอบด้วยคริบโทแซนธิน (cryptoxanthin) และแซนโทฟิล (xanthophylls) เป็นแหล่ง ของวิตามิน เอ และสารเพิ่มสีไข่แดงและผิวหนังของไก่

ที่มา : CEC, http://www.creationengineeringconcepts.org (9 มีนาคม 2554)

 

ข้าวโพด เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในอาหารไก่ และสุกรโดยเฉพาะในอาหารไก่จะนิยมใช้มากเพราะนอก จะเป็นแหล่งให้พลังงานแล้วในข้าวโพดเมล็ดสีเหลืองยังมีแคโรทีน ซึ่งช่วยทำให้สีของเนื้อไก่ และไข่แดงเข้มขึ้น
ตามความนิยมของผู้บริโภคอีกด้วย

คุณสมบัติ

  • ให้พลังงานสูง มีพลังงานใช้ประโยชน์ได้ในสุกรและสัตว์ปีเท่ากับ 3,168 และ 3,370 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม
  • มีโปรตีนต่ำประมาณ 8-9 เปอร์เซ็นต์ และมีกรดอะมิโนไลซีน ทริฟโตเฟนและเมทไธไอนีนต่ำ
  • มีระดับแคลเซียมต่ำแต่ฟอสฟอรัสสูง
  • มีไวตามินบี 1 (ไทอามิน) และไนอะซินสูงแต่ไนอะซินอยู่ในรูปที่สัตว์นำไปใช้
  • ข้าวโพดเมล็ดสีขาวกับสีเหลืองมีคุณค่าและปริมาณสารอาหารเหมือนกันต่างกันที่ข้าวโพดเมล็ด
  • สีเหลืองมี ปริมาณแคโรทีนหรือไวตามินเอสูงกว่า
  • ข้าวโพดที่มีความชื้นสูงจะขึ้นราได้ง่าย และการปนเปื้อนของสารพิษหลายชนิดโดยเฉพาะที่สำคัญ คือ อะฟลาท็อกซินซึ่งเกษตรกรควรจะระวังอย่างยิ่งในการนำมาใช้เลี้ยงสัตว์

ข้อจำกัดในการใช้
โดยทั่วไปสามารถใช้ข้าวโพดเลี้ยงสุกร หรือสัตว์ปีกโดยไม่มีข้อจำกัดแต่ในสุกรขุนการใช้ข้าวโพด ในระดับ สูงอาจทำให้สุกรมีลักษณะมันเหลวซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของตลาดนอกจากนี้จะต้องระมัดระวัง เลือกใช้ข้าวโพดที่มีคุณภาพดี ไม่มีราขึ้น โดยเฉพาะใช้เป็นอาหารเป็ด เพราะเป็ดมีความทนทานต่อสารพิษอะฟลาท็อกซิน ได้ค่อนข้างต่ำ

ข้อแนะนำในการใช้

  • ควรบดเมล็ดข้าวโพดให้ละเอียดก่อนนำไปผสมเป็นอาหารสัตว์เพราะสัตว์ไม่สามารถย่อย เมล็ดข้าวโพดทั้งเมล็ดได้
  • ควรเลือกใช้ข้าวโพดที่แห้งสนิทไม่มีราขึ้น
  • ควรเลือกใช้ข้าวโพดที่ไม่มีสิ่งอื่นปลอมปน เช่น ซังข้าวโพด
  • ควรเลือกซื้อข้าวโพดมาบดเองดีกว่าซื้อข้าวโพดที่พ่อค้าบดแล้วเนื่องจากข้าวโพดบดมักจะ พบสิ่งปลอมปนสูง เช่น แกลบ หินฝุ่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังไม่สามารถสังเกตได้ว่า มีการปนเปื้อนของเชื้อรา หรือไม่

 

ส่วนประกอบทางเคมี

ส่วนประกอบ (%)
ความชื้น 13
โปรตีน 8
ไขมัน 4
เยื่อใย 2.50
เถ้า 1.30
แคลเซียม 0.01
ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์ได้ 0.01
พลังงานใช้ประโยชน์ได้ (กิโลแคลอรี่/กก.)
ในสุกร 3,168
ในสัตว์ปีก 3,370
กรดอะมิโน (%)
ไลซีน 0.25
เมทไธโอนีน 0.19
เมทไธโอนีน + ซีสตีน 0.39
ทริปโตเฟน 0.09
ทรีโอนีน 0.32
ไอโซลูซีน 0.34
อาร์จินีน 0.40
ลูซีน 1.17
เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน 0.81
อิสติดีน 0.25
เวลีน 0.46
ไกลซีน 0.33

แชร์ให้เพื่อน :